Monday, September 17, 2012

Personnel & SIP ODM Meeting

การประชุมร่วมกันระหว่าง Personnel & SIP 
วันที่ 15/09/2012 เวลา 15.10-16.00 น.

Personal Quality Improvements:

    - On Time Mentality
             1. การรณรงค์
                  - ทำป้ายรณรงค์ "มีวินัย  ตรงเวลา" ไปติดตามจุดต่าง ๆ เช่น ในห้องน้ำ ห้องประชุม ที่รูดบัตร จุดที่มีการติดตั้งนาฬิกาทุกจุดในบริษัท เป็นต้น
                  - ทำบอร์ดประชาสัมพันธ์กิจกรรม และอยู่ในจุดที่มองเห็นได้ชัดเจน
                  - เปลี่ยนนาฬิกาให้เป็นแบบ Digital และต้องติดให้ครบทุกจุดทั่วทั้งบริษัท 
                  - กำหนดให้มีการประชุมตรงเวลาในการประชุม Management Review, LOA, Morning 
                    Meeting, KPI Meeting
             2. มาตรการ
                  - ให้ฝ่ายบุคคลเป็นหน่วยงานที่คอยตรวจสอบการรณรงค์ในข้อที่ 1
                  - หน่วยงาน SIP เป็นหน่วยงานออกแบบมาตรฐาน และระบบ

ปล. รายละเอียดทั้งหมด รวมไปถึงกฏกติกา ต่างๆ จะถูกทบทวนในการประชุมครั้งถัดไป วันพุธที่ 19 ก.ย. 2555 และรายงานให้ทราบใน การประชุม LOA วันถัดไป

ผู้เข้าร่วมการประชุม
1. คุณฤดี  บุญชอบ Management
2. คุณนพพล  สาขาชาติ IT&SIP
3. คุณจันทร์ญา  ทรัพย์อะหล่ำ PE
4. คุณธนิยาภา  บุตรเมือง SIP
5. คุณวาสนา  บุตรสอน PE

Wednesday, September 12, 2012

First ODM Meeting

การประชุมในครั้งแรก เป็นการวางกรอบของ ODM
วันที่ 12/09/2012 เวลา 15.30 น.

การประชุมเพื่อวางกรอบ ระดมความคิด เกี่ยวกับ ODM ที่จะนำไปสู่การวางแผนงานที่ชัดเจนต่อไปในอนาคต
สามารถแบ่งเป็นส่วนต่างๆได้ดังนี้

1. System
 1.1) ระยะสั้น
   - Automatic Daily Status board การเชื่อมโยงข้อมูล WIP ซึ่งปกติใช้วิธีเขียนบนกระดาน บริเวณหน้า FG Store โดยมีการ Update ทุกวันตอนเช้า เราอาจเปลี่ยนวิธีการลงข้อมูลโดยใช้ อุปกรณ์พกพา เช่น Mobile Tablet เข้ามาช่วยให้แต่ละจุดส่งตัวเลขเข้าฐานข้อมูลได้โดยตรง และเปลี่ยนการแสดงผล เป็นจอภาพ ซึ่งสามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลดังกล่าวมาแสดงได้ตามต้องการ 
     ทำเช่นนี้อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงในเรื่องของที่มาของข้อมูล แต่เปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล และวิธีแสดงผลเท่านั้น เราสามารถนำข้อมูลในฐานข้อมูล มาทำรายงานเพื่อการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีให้กับพนักงานอีกด้วย
   - Planning Status ปกติโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิตรายวัน จะสามารถดูแผนการผลิตผ่าน Real Time PD อยู่แล้ว หากแต่เราต้องการให้ลูกค้าแต่ละราย สามารถดูได้เฉพาะรายการชิ้นงานของตนเท่านั้น เราจึงจำเป็นต้องดัดแปลงการแสดงผลข้อมูลให้เป็นไปตาม ลูกค้าแต่ละราย รวมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลให้เป็นลักษณะเดียวกันทั้งหมด ตามมติที่ประชุม
  - FG & Delivery Status การแสดงสถานะของสินค้าในคลัง สินค้าสำเร็จรูป และสถานะการส่งสินค้า ข้อมูลเหล่านี้มีอยู่ในฐานข้อมูลของ BPlusBack Accounting อยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องศึกษาฐานข้อมูลดังกล่าว และนำข้อมูลที่ถูกต้องมาแสดงผลในรูปแบบที่เราต้องการ รวมทั้งยังต้องสามารถแสดงผลเฉพาะรายการของลูกค้าแต่ละรายอีกด้วย

 1.2) ระยะยาว
    การดำเนินงานในระยะยาวนั้น มองไปที่การเชื่อมโยงระบบใหญ่เข้าด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มต้น Project จนถึง สิ้นสุด ซึ่งเป็นระบบที่ใหญ่มาก ทำให้ต้องมีการศึกษาระบบ การไฟลของข้อมูล อย่างครบถ้วน รอบครอบเพียงพอก่อน แล้วจึงตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินการต่อไป โดยระบบที่ต้องศึกษาใหญ่ๆมีดังนี้
     
   New Product Development >> Planning >> Raw Material [BOM & Stock] >> Production >> FG & Delivery
   
   อีกทั้งในเวลาเดียวกัน ก็จะหาเครื่องมือในการจัดการสิ่งเหล่านี้เช่น MRP, ERP ที่มีความเหมาะสมกับระบบของเรามากที่สุด เข้ามาสนับสนุน หากเป็นไปได้
   การศึกษาระบบ จะเป็นมีการปรับปรุ่งเรื่อง รูปแบบ เอกสาร การเชื่อมโยงข้อมูล ไปพร้อมๆกัน

 1.3) โครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบ
  โครงสร้างพื้นฐาน เป็นระบบย่อย ที่จำมีบทบาทอยู่ในระบบอื่นๆขององค์กรทั้งหมด จำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน ในรูปแบบวัตถุ เช่นเดียวกับ API เพื่อให้ระบบอื่นๆเรียกใช้งานได้เหมือนๆกัน
  ระบบพื้นฐานประกอบไปด้วย
  - User Management การจัดการข้อมูลผู้ใช้ เป็นระบบพื้นฐานเริ่มต้นที่ทุกๆระบบต้องเรียกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันตัวตน การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล ระบบลำดับการอนุมัติ เป็นต้น
  - Notification Center ในปัจจุบัน และในอนาคต โปรแกรมในระบบจะเพิ่มขึ้นมากมาย ทุกๆการกระทำล้วนแล้วแต่เชื่อมโยง เกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องที่ไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้ ที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบความเคลื่อนไหวในทุกๆระบบ เราควรมีระบบแจ้งเตือนจากศูนย์กลาง หลังจากที่ทำการเข้าสู่ระบบสำเร็จ ตัวแจ้งเตือน จะทำหน้าที่แสดงข้อความหรือสัญลักษณ์ หากมีข้อความแจ้งเตือนถึงผู้ใช้นั้นๆ (คล้ายกับ Facebook) ระบบนี้จะรวมเอาคุณสมบัติการส่ง E-Mail แจ้งเตือนเข้าไว้ด้วย

  นอกจากระบบพื้นฐานแล้วสิ่งที่ควรเหมือนกัน เพื่อแสดเอกลักษณ์ขององค์กรคือ
  - Interface Format
  - Report Format
  - Print out Format
  - Access Method
  ทั้งหมดจะรวมมือกับ IT & Designer เพื่อออกแบบ ให้เหมาะสม และสวยงามมากที่สุด

2. สร้างความคุ้นเคยกับ Technology ให้กับพนักงาน
 - เริ่มสอดแทรก การบันทึก การสแกนบาร์โค้ด ในโปรแกรมตรวจสอบการรับเข้าสินค้า FG เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ
 - สร้างสถานี ข้อมูล เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ ผ่านอุปกรณ์ จอระบบสัมผัส (โดยมีการจำกัดเนื้อหาที่นำมาแสดง ตามความเหมาะสม)

3. สร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ดี
 - สร้างวินัยการเข้างาน เลิกงานตรงเวลา โดยให้มีการรณรงค์ ทำป้ายเตือนใจ ประชาสัมพันธ์หน้าแถวทุกวันจันทร์ มีการตรวจสอบ และลงโทษ หากทำผิดกฏระเบียบ 
 - แผนกบุคคล และ SIP จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีต่อพนักงาน
 - การประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมควรตรงต่อเวลา ต้องสร้างกฏการเข้าร่วมการประชุมที่ชัดเจน

4. เรื่องอื่นๆ
 - ติดตั้งระบบเสียงตามสาย เพื่อให้สามารถแจ้งข่าวด่วน แจ้งเตือนในหลายๆกรณี และเพื่อความสะดวก ชัดเจนในการสื่อสารภายในองค์กร
 - สำหรับโปรแกรม Training ที่กำลังจะเริ่มใช้งานจริงแล้วนั้น ให้ดำเนินการต่อด้วยการเพิ่มเติมส่วนที่เป็น Training Need ขององค์กร (กฏระเบียบของบริษัทฯ ความปลอดภัย การบริหารงานคุณภาพ และการบริหารงานสิ่งแวดล้อม) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรมดังกล่าวนี้ โดยให้ SIP & HR รับผิดชอบเรื่องเนื้อหา และข้อสอบ จากนั้นให้ IT ดำเนินการเชื่อมโยงกับโปรแกรม Training ให้เป็นการฝึกอบรมแบบ Online และทำแบบทดสอบ Online เช่นกัน
 - เอกสารต่างๆของ ENG ควรถูกจัดเก็บไว้เป็นเล่มในแต่ละ Project ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ หากตลอดระยะเวลามีการเปลี่ยนแปลง ก็ให้ Update เอกสารในเล่มนั้น อย่างถูกต้อง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ และสืบค้นข้อมูล ก่อนที่จะดำเนินการให้อยู่ในรูปแบบ Electronics Document ในอนาคต

ผู้เข้าร่วมการประชุม 
1. คุณพิศณุ  Manage
2. คุณฤดี     Manage
3. คุณภคิณ  Manage
4. คุณธัญลักษณ์ PS
5. คุณนพพล IT&SIP
6. คุณธนิยาภา SIP
7. คุณพรสุวิทย์ IT
8. คุณนรินทร   IT
9. คุณธีรภาส   IT